บริษัท เคนโด้อีเล็คทริค จำกัด (KENDO ELECTRIC Co.,Ltd.)

บริษัท เคนโด้อีเล็คทริค จำกัด (KENDO ELECTRIC Co.,Ltd.) เครื่องครัว  ::  เครื่องใช้ไฟฟ้า
Kitchenware  ::  Home Appliances
Tips & News (สาระน่ารู้)


สแตนเลสคืออะไร
สเตนเลส สแตนเลส แสตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม นั้นถือเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า stainless steel เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมอัน เนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างออกซิเจนในอากาศกับโครเมียม (Cr) ในเนื้อสเตนเลส เกิดเป็นฟิล์มบางๆ เคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสเตนเลสได้เป็นอย่างดี ปกป้องการเกิด Corrosion และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป สำหรับในสหรัฐอเมริกาและ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า corrosion resistant steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใดและคุณภาพระดับใด แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็นสเตนเลสเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึงธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียม 18% และนิเกิล 8% สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไปซึ่งเราสามารถจำแนก ประเภทของสเตนเลสได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของสเตนเลส ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
ทำไมต้องใช้สแตนเลสสตีล (Stainless steel)
      เหตุเพราะสแตนเลสมีความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion resistance) สแตนเลสทุกเกรดมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง แม้เป็นสแตนเลสเกรดผสมต่ำ (Low alloyed grade) อาทิเกรด 201 ก็สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศปกติ สำหรับสแตนเลสเกรดผสมสูง (Hight alloyed grade) อาทิเกรด 316, 304 นั้นมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนในสภาพกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด แม้จะมีอุณหภูมิและความดันในการใช้งานสูงก็ตาม สแตนเลสบางเกรดต้านทานต่อการเกิดสะเก็ดและคงความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงมาก ขณะที่ยังคงความเหนียวแน่น(Toughness)ในการใช้งานที่อุณหภูมิติดลบ
      อีกทั้งสแตนเลสง่ายต่อการสร้างหรือประกอบ (Ease of fabrication) จึงสามารถตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกลหรือการประกอบอื่นๆ ได้ง่าย ทั้งสแตนเลสนั้นมีความแข็งแรง ซึ่งยิ่งเพิ่มความแข็งแรงได้จากการขึ้นรูปเย็น (Cold work hardening) ทำให้สามารถออกแบบงานเพื่อลดความหนา น้ำหนักและราคา
      และด้วยเหตุที่สแตนเลสมีความสวยงามน่าดึงดูด โดยสามารถทำให้ผิวสวยงามได้หลายวิธี เช่นการทำให้ผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และดำ ด้วยวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี-ไฟฟ้า
      สำหรับคุณสมบัติด้านสุขศาสตร์ (Hygienic properties) เป็นอีกเรื่องที่ทำให้สแตนเลสเป็นที่นิยมนำมาใช้ เพราะความง่ายต่อการดูแลรักษาและการทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นในงานโรงพยาบาล เครื่องใช้ในครัว ด้านอาหารและเภสัชกรรม วงจรชีวิตการใช้งานของสแตนเลส คือ ทนทาน การบำรุงรักษาต่ำ และค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาในการใช้งาน ทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycles) ได้ง่ายและเศษสแตนเลสมีมูลค่าสูง
ทำไมต้องใช้สแตนเลสสตีล (Stainless steel)
      เหตุเพราะสแตนเลสมีความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion resistance) สแตนเลสทุกเกรดมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง แม้เป็นสแตนเลสเกรดผสมต่ำ (Low alloyed grade) อาทิเกรด 201 ก็สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศปกติ สำหรับสแตนเลสเกรดผสมสูง (Hight alloyed grade) อาทิเกรด 316, 304 นั้นมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนในสภาพกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด แม้จะมีอุณหภูมิและความดันในการใช้งานสูงก็ตาม สแตนเลสบางเกรดต้านทานต่อการเกิดสะเก็ดและคงความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงมาก ขณะที่ยังคงความเหนียวแน่น(Toughness)ในการใช้งานที่อุณหภูมิติดลบ
      อีกทั้งสแตนเลสง่ายต่อการสร้างหรือประกอบ (Ease of fabrication) จึงสามารถตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกลหรือการประกอบอื่นๆ ได้ง่าย ทั้งสแตนเลสนั้นมีความแข็งแรง ซึ่งยิ่งเพิ่มความแข็งแรงได้จากการขึ้นรูปเย็น (Cold work hardening) ทำให้สามารถออกแบบงานเพื่อลดความหนา น้ำหนักและราคา
      และด้วยเหตุที่สแตนเลสมีความสวยงามน่าดึงดูด โดยสามารถทำให้ผิวสวยงามได้หลายวิธี เช่นการทำให้ผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และดำ ด้วยวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี-ไฟฟ้า
      สำหรับคุณสมบัติด้านสุขศาสตร์ (Hygienic properties) เป็นอีกเรื่องที่ทำให้สแตนเลสเป็นที่นิยมนำมาใช้ เพราะความง่ายต่อการดูแลรักษาและการทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นในงานโรงพยาบาล เครื่องใช้ในครัว ด้านอาหารและเภสัชกรรม วงจรชีวิตการใช้งานของสแตนเลส คือ ทนทาน การบำรุงรักษาต่ำ และค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาในการใช้งาน ทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycles) ได้ง่ายและเศษสแตนเลสมีมูลค่าสูง

ประโยชน์ของการใช้งานสแตนเลส
  • ใช้ในสิ่งแวดล้อมที่กัดกร่อน (Corrosive Environment)
  • งานอุณหภูมิเย็นจัด ป้องกันการแตกเปราะ
  • ใช้งานอุณหภูมิสูง (High temperature)ป้องกันการเกิดคราบออกไซด์ (scale) และยังคงความแข็งแรง
  • มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับมวล (High strength vs. mass)
  • งานที่ต้องการสุขอนามัย(Hygienic condition) ต้องการความสะอาดสูง
  • งานด้านสถาปัตยกรรม (Aesthetic appearance) ไม่เป็นสนิม ไม่ต้องทาสี
  • ไม่ปนเปื้อน (No contamiation) ป้องกันการทำ ปฏิกิริยากับสารเร่งปฏิกิริยา
  • ต้านทานการขัดถูแบบเปียก (Wet abrasion resistance)
  • Grade ลักษณะการนำไปใช้งาน ประเภทอุตสาหกรรมที่นำไปใช้
    201 - ทำพื้นรถเข็นต่างๆ
    - ทำเฟอร์นิเจอร์
    - ทำแผง และอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ
    - ถังเก็บ, ถังแก๊ส
    - กันชนรถทุกประเภท
    - ท่อพักท่อไอเสีย
    - ลายประดับรั้ว, ราวประเภทต่างๆ

    - อุตสาหกรรมรถเข็น
    - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
    - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง
    - อุตสาหกรรมแก๊ส
    - อุตสาหกรรมประกอบรถบรรทุก
    - อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
    - อุตสาหกรรมทำรั้ว, ราวประตู,หน้าต่างๆ(ใช้งานภายใน)

     

    202 - ใกล้เคียงกับเกรด 201 แต่มี ความต้านทานการกัดกร่อนได้ดีกว่า เหมือนเกรด 201
    304

    - ตู้เย็น,เครื่องทำความเย็น
    - ทำเฟอร์นิเจอร์สนาม, เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานภายนอก
    - ถัง/แทงค์ บรรจุน้ำ
    - เครื่องใช้เกี่ยวกับครัวเรือน เช่น เตา - โต๊ะ : อุปกร์ประกอบอาหาร
    - เครื่องมือเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาล
    - เครื่องล้างจาน, อ่างล้างจาน, ภาชนะหุงต้ม


    - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเย็น
    316

    - โดยทั่วไปมีการใช้งานเหมือนเกรด 304 ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่กว้างกว่าเกรด 304 คือ
    - งานตกแต่งอาคาร, งานสถาปัตยกรรม
    - ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
    - ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ,เวชภัณฑ์ ต่างๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาล
    - ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้อุตสาหกรรมต่อเรือ




    - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตกแต่งภายใน
    - อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม

    - อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
    410, 430 - ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์, สินค้าตกแต่งภายในบ้าน, อาคาร
    - เครื่องใช้, เครื่องมือบนโต๊ะอาหาร, มีด, ช้อน-ส้อม
    - อุปกรณ์ ดูดฝุ่น, ท่อดูดควัน, ท่อดัก
    - ใช้ทำส่วนประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ท่อพัก, ท่อไอเสีย,ถังน้ำมัน
    - อุตสาหกรรมตกแต่งภายในอาคาร
    - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน
    - อุตสาหกรรมผลิตท่อต่างๆ
    - อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนรถยนต์
    สภาพผิวของสแตนเลส
           No.1 รีดร้อนหรือรีดเย็น/อบอ่อน หรือปรับปรุงด้วยความร้อน โดยที่คราบออกไซด์ไม่ได้ถูกขจัดออก โดยทั่วไปใช้กับงานที่ทนความร้อน 2D สภาพผิว 2D หลังจากการรีดเย็นโดยลดความหนาลง ผ่านการอบอ่อนและการกัดผิวโดยกรดลักษณะผิวสีเทาเงินเรียบ
           2B เป็นผิว 2D ที่ผ่านลูกรีดขนาดใหญ่กดทับปรับความเรียบ เพิ่มความเงาผิวเงาสะท้อนปานกลาง ผลิตโดยวิธีการรีดเย็น ตามด้วยการอบนำอ่อนขจัดคราบออกไซด์ และนำไปรีดเบาๆ ผ่านไปยังลูกกลิ้งขัด ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปของการรีดเย็น ผิวที่ได้ส่วนมากจะอยู่ในระดับ 2B
           BA ผ่านกระบวนการรีดเย็นโดยความหนาลดลงทีละน้อยๆ ผ่านการอบอ่อนด้วยก๊าซไฮโดรเจน เพื่อป้องกันกันการออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ผิวมันเงา สะท้อนความเงาได้ดี ผิวผลิตภัณฑ์สเตนเลสจะกระทำด้วยวิธีนี้ ซึ่งจะมีเครื่องหมาย BA หรือ No.2BA, A ซึ่งผิวอบอ่อนเงา จะมีลักษณะเงากระจก ซึ่งเริ่มต้นจากการรีดเย็น อบอ่อนในเตาควบคุมบรรยากาศ ผิวเงาที่เห็นจะเป็นการขัดผิวด้วยลูกกลิ้งขัดผิว หรือเจียรนัยผิวตามเกรดที่ต้องการ ผิวอบอ่อนเงาส่วนมากจะใช้กับงานสถาปัตยกรรม ที่ต้องการผิวสะท้อน ผิวอบอ่อนสีน้ำนมจะไม่สะท้อนแสงเหมือนกับ No.8 จะใช้กับงานที่เป็นขอบ ชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรม ภาชนะในครัว อุปกรณ์ในกระบวนการผลิตอาหาร
           No.4, Hair Line เป็นสภาพผิว 2B ที่ผ่านการจัดถูด้วยกระดาษทรายเบอร์ 120-220 โดยค่าความหยาบขึ้นอยู่กับแรงกด, ขนาดของอนุภาคเม็ดทราย และระยะเวลาการใช้งานของกระดาษทราย ผิว No.4 เป็นสภาพผิวที่สนองต่อการนำไปใช้งานทั่วไป เช่นร้านอาหาร อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์รีดนม
           No.8 เป็นสภาพผิว 2B, BA ขัดด้วยผ้าขัดอย่างละเอียดมากขั้นตามลำดับ เช่น #1000, ผ้าขนสัตว์ โดยมีผงขัดอะลูมิเนียมและโครเมียมออกไซด์ ผิว No.8 ส่วนมากจะเป็นผิวเงาสะท้อนคล้ายกระจกเงา ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นสเตนเลสชนิดแผ่นโดยผิวจะถูกขัดด้วยเครื่องขัด ละเอียด นำไปใช้กับงานตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรม และงานที่เน้นความสวยงาม
    สแตนเลสขึ้นสนิม
           การทำให้ Stainless steel เป็นสนิมคือฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวถูกทำลายออกไปในสภาวะที่ Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ เช่น ถ้าสเตนเลสถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้ แต่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์นั้นก็จะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้ง

        วิธีทำความสะอาดสำหรับคราบสกปรกทั่วๆ ไป

    คราบสกปรก วิธีการทำความสะอาด
    รอยนิ้วมือ

    ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง

     

    น้ำมัน คราบน้ำมัน

    ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ

     

    สี

    ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง

     

    เขม่าหรือคราบอาหาร

    จุ่มลงในน้ำ ใช้สารละลายที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง

     

    เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน

    ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสเตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง

     

    ป้ายฉลากและสติกเกอร์

    จุ่มลงในน้ำอุ่น ๆ ลอกเอาป้ายออกแล้วถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วย ผ้านุ่ม ๆ

     

    รอยน้ำ / มะนาว / ตะกรัน

    จุ่มลงในน้ำส้มสายชูเจือจาง (25%) หรือกรดไนตริก (15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล่างให้สะอาดด้วนน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ

     

    คราบชา – กาแฟ

    ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนต ในน้ำ ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ

     

    คราบสนิม

    จุ่มในน้ำอุ่นที่มีส่สนผสมสารละลายกรดไนตริก ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด หรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกชาลิค ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้งหรือต้องใช้เครื่องมือล้างหากคราบสนิมติด แน่น

     

    การดูแลรักษาสแตนเลส
  • หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ ควรทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น
  • ในการทำความสะอาดควรเริ่มจากวิธีและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนที่สุดก่อน เสมอและทดลองทำความสะอาดเป็นบริเวณเล็กๆ ก่อนเพื่อให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  • ใช้น้ำอุ่นเพื่อช่วยขจัดความมันของน้ำมันหรือจาระบี
  • ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำความสะอาด ให้ใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มหรือกระดาษชำระแผ่นใหญ่ทุกครั้ง
  • เมื่อใช้กรดทำความสะอาดสแตนเลส ควรใช้มาตรการป้องกันและระมัดระวังอย่างเหมาะสม
  • ล้างเครื่องใช้ที่ทำจากสแตนเลสทันทีที่เตรียมอาหารเสร็จเสมอ
  • หลีกเลี่ยงรอยเปื้อนที่เกิดจากเหล็กโดยไม่ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำจาก โลหะ หรืออุปกรณ์ที่เคยนำไปทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มาก่อน
  • กรณีที่ไม่แน่ใจในวิธีทำความสะอาดหรือพบรอยเปื้อนที่ไม่สามารถขจัดออกได้ ให้ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
  • สิ่งที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวสแตนเลส
  • อย่าเคลือบสแตนเลสด้วยขี้ผึ้งหรือสารที่มีความมัน เพราะจะทำให้ฝุ่นหรือรอยเปื้อนติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้นและทำความสะอาดออกได้ยาก
  • อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ( Chlorides) และ เฮไลด์ ( Helides) เช่น โบรไมน์ ( Bromine) ไอโอดีน ( Iodine) และ ฟลูออรีน (Fluorine)
  • อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดสแตนเลส
  • อย่าใช้กรดไฮโดรคลอริค ( HCI) ในการทำความสะอาด เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็มและแบบเป็นรอยร้าวได้ ( Pitting and Stress Corrosion Cracking)
  • อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่แน่ใจ
  • อย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเงิน
  • อย่าใช้ปริมาณสบู่และผงซักฟอกมากเกินไปในการทำความสะอาด เพราะอาจทิ้งคราบไว้บนพื้นผิวได้
  • อย่าทำความสะอาดส่วนที่มีคราบฝังแน่นในขั้นตอนเดียว ควรทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนขจัดคราบฝังแน่น
  • x (ปิด) สินค้าขายดีจากทางร้าน